วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2554

ว่ายน้ำ

ว่ายน้ำ

ภาพ:ว่ายน้ำ.jpg

[แก้ไข] ประวัติความเป็นมา

        กำเนิดจากพวกแอสซีเรีย อียิปต์ กรีกและโรมัน การแข่งขันครั้งแรกจัดขึ้นที่ Woolwich Baths ตอนในของอังกฤษ
การว่ายน้ำแบบต่าง ๆ

[แก้ไข] การว่ายแบบฟรีสไตล์

        ฟรีสไตล์ คือ รายการที่ผู้เข้าแข่งขันจะว่ายแบบใดก็ได้ ยกเว้นในการว่ายแบบเดี่ยวผสมหรือแบบผลัดผสม ฟรีสไตล์ หมายถึง การว่ายน้ำแบบใด ๆ นอกเหนือจากการว่ายกรรเชียง กบ และผีเสื้อ ในการว่ายแบบฟรีสไตล์ การกลับตัวและการเข้าเส้นชัยของนักว่ายน้ำจะสามารถแตะผนังขอบสระด้วยส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายได้ การใช้มือข้างหนึ่งข้างใดแตะก็ย่อมได้

[แก้ไข] การว่ายแบบกรรเชียง

        1.ผู้เข้าแข่งขันจะต้องลงไปตั้งต้นในน้ำ โดยหันหน้าเข้าหาแท่นตั้งต้น มือทั้งสองจับที่จับสำหรับการเริ่มต้น เท้าทั้งสองรวมทั้งหัวแม่เท้าจะต้องอยู่ใต้ผิวน้ำ ห้ามเหยียบ ยืน หรือใช้หัวแม่เท้าเกาะอยู่ที่รางระบายน้ำ นักว่ายน้ำจะต้องไม่เคลื่อนไหวส่วนใด ๆ ของร่างกายก่อนสัญญาณการเริ่มต้นจะเริ่มขึ้น
        2.เมื่อให้สัญญาณการเริ่มต้น หรือการกลับตัวให้ถีบตัวออกในลักษณะนอนหงาย และต้องว่ายในท่านอนหงายตลอดการแข่งขัน มือทั้งสองจะต้องไม่ปล่อยจากที่เกาะก่อนสัญญาณเริ่มต้นจะเริ่มขึ้น
        3.ผู้เข้าแข่งขันคนใดเปลี่ยนท่าจากท่านอนหงายปกติ ก่อนที่ศรีษะ ไหล่ มือ หรือแขน จะแตะขอบสระ เพื่อการกลับตัวหรือเข้าเส้นชัย จะต้องถูกตัดสิทธิ์ให้แพ้ฟาล์วทันที จะอนุญาตให้บิดไหล่ตีลังกาได้หลังจากที่มือแตะขอบสระอย่างสมบูรณ์แล้ว เพื่อการกลับตัว แต่นักว่ายน้ำจะต้องกลับสู่ท่านอนหงายทันที ก่อนที่เท้าทั้งสองจะหลุดออกจากขอบสระ ท้านอนหงายปกติของการว่ายแบบกรรเชียง จะคลุมไปถึงการกลิ้งของลำตัวในการเคลื่อนไหว แต่ไม่รวมถึงตำแหน่งลำตัวที่กลิ้งจนทำมุมกับแนวนอนเป็นมุม 90 องศา ส่วนตำแหน่งของศีรษะจะอย่างไรก็ได้

[แก้ไข] การว่ายแบบกบ

        1.ตั้งแต่เริ่มต้นของการใช้แขนจังหวะแรก หลังจากออกเริ่มต้น และหลังจากการกลับตัวแต่ละครั้ง ลำตัวของผู้ว่ายจะต้องอยู่ในท่าคว่ำหน้า ไหล่ทั้งสองจะต้องขนานเป็นแนวเดียวกันกับผิวน้ำ
        2.ตลอดเวลาการเคลื่อนไหวของแขนทั้งสองข้างต้องทำพร้อม ๆ กัน และอยู่ในระดับเดียวกัน แขนทั้งสองจะไม่มีการเคลื่อนไหวสลับกันขึ้นลง
        3.การพุ่งแขนทั้งสองจะต้องพุ่มไปข้างหน้าพร้อม ๆ กันจากหน้าอกและดึงกลับไปข้างหลังที่ระดับผิวน้ำ หรือใต้ผิวน้ำก็ได้ (ยกเว้นในการเริ่มต้นและการกลับตัว) มือทั้งสองจะต้องไม่ดึงกลับหลังจนเลยแนวสะโพกไป
        4.ตลอดเวลาการเคลื่อนไหวของขาทั้งสองจะต้องทำพร้อม ๆ กัน และอยู่ในระดับเดียวกัน ขาทั้งสองจะไม่มีการเคลื่อนไหวสลับกันขึ้นลง
        5.การเตะขา เท้าทั้งสองจะต้องเตะกวาดออกไปด้านนอกในลักษณะเคลื่อนไปทางด้านหลัง ไม่อนุญาตให้เตะขาสลับขึ้นลงหรือแบบปลาโลมาสะบัดหาง ขาทั้งสองจะขึ้นมาอยู่เหนือผิวน้ำก็ได้ แต่จะต้องไม่เตะขาลงแบบปลาโลมาสะบัดหาง
        6.ในการกลับตัวแต่ละครั้ง และการเข้าเส้นชัย จะต้องแตะขอบสระด้วยมือทั้งสองพร้อม ๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นเหนือหรือใต้ระดับผิวน้ำ ไหล่ทั้งสองจะต้องอยู่ในลักษณะขนานกับผิวน้ำ
        7.ในการว่ายแต่ละช่วง 1 จังหวะของการดึงแขนหนึ่งครั้ง เตะขาหนึ่งครั้งจะต้องมีบางส่วนของศรีษะของนักว่ายน้ำโผล่พ้นระดับน้ำให้เห็น ยกเว้นหลังจากการออกเริ่มต้นและการกลับตัวแต่ละครั้ง นักว่ายน้ำสามารถดึงแขนใต้น้ำได้ 1 ครั้ง และเตะขาได้ 1 ครั้ง ก่อนที่จะขึ้นสู่ผิวน้ำ

[แก้ไข] การว่ายแบบผีเสื้อ

        1.แขนทั้งสองจะต้องยกไปข้างหน้าเหนือน้ำ และดึงกลับไปหลังพร้อม ๆ กัน
        2.ลำตัวจะต้องอยู่ในลักษณะคว่ำหน้า ไหล่ทั้งสองจะต้องขนานกับระดับผิวน้ำ ตั้งแต่จังหวะเริ่มต้นของการใช้แขนจังหวะแรก และภายหลังจากการเริ่มต้นและการกลับตัวแต่ละครั้ง
        3.ตลอดเวลาการเคลื่อนไหวของขาทั้งสอง จะต้องเคลื่อนไหวไปพร้อม ๆ กัน ขาและเท้าทั้งสองจะต้องเคลื่อนขึ้น – ลงพร้อม ๆ กันในแนวดิ่ง ขาและเท้าทั้งสองไม่อยู่ระดับเดียวกันก็ได้
        4.การกลับตัวแต่ละครั้งและการเข้าเส้นชัย การแตะขอบสระจะต้องแตะด้วยมือทั้งสองพร้อม ๆ กัน ไม่ว่าจะแตะเหนือหรือใต้ระดับผิวน้ำ ไหล่ทั้งสองจะต้องขนานกับระดับผิวน้ำ
        5.ในการเริ่มต้น และการกลับตัวแต่ละครั้ง อนุญาตให้นักว่ายน้ำเตะขาได้ 1 ครั้ง หรือมากกว่าต่อการดึงแขนใต้น้ำได้ 1 ครั้งเท่านั้น เพื่อให้นำตัวขึ้นมาสู่ผิวน้ำ

[แก้ไข] การว่ายเดี่ยวผสม ผลัดผสม

        1.ในรายการว่ายเดี่ยวผสม นักว่ายน้ำจะต้องว่ายรวม 4 แบบตามลำดับ คือ ผีเสื้อ กรรเชียง กบ และฟรีสไตล์
        2.ในรายการว่ายผลัดผสม จะต้องประกอบไปด้วยนักว่ายน้ำ 4 คน และว่ายคนละแบบตามลำดับ คือ กรรเชียง กบ ผีเสื้อ และฟรีสไตล์

[แก้ไข] กติกาว่ายน้ำ

        กติกาการแข่งขันต่อไปนี้ ใช้ควบคุมการแข่งขันที่จัดขึ้นทุกประเภท ได้แก่ การแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ การแข่งขันชิงแชมเปี้ยนโลก การแข่งขันระหว่างทวีป และการแข่งขันทั่ว ๆ ไประหว่างประเทศ ยกเว้นการแข่งขันที่ระบุไว้เป็นอย่างอื่น
การดำเนินการแข่งขัน
        1.คณะกรรมการดำเนินการแข่งขันที่แต่งตั้งขึ้นมา และได้รับการรับรองจากสหพันธ์กีฬาว่ายน้ำสมัครเล่นนานาชาติ มีอำนาจเหนือผู้ตัดสินชี้ขาด กรรมการตัดสิน หรือเจ้าหน้าที่อื่น ๆ และมีอำนาจสั่งให้เลื่อนรายการแข่งขันได้ภายในขอบเขตที่บัญญัติไว้ในกติกา
        2.ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมส์ การแข่งขันชิงแชมเปี้ยนโลก และการแข่งขันชิงถ้วยเกียรติยศของสหพันธ์ฯ คณะกรรมการสหพันธ์กีฬาว่ายน้ำสมัครเล่นนานาชาติ จะเป็นผู้พิจารณาแต่งตั้งกรรมการและเจ้าหน้าที่ เพื่อควบคุมการแข่งขันอย่างน้อยที่สุด ดังต่อไปนี้
ผู้ตัดสินชี้ขาด 1 คน
กรรมการดูฟาล์ว 4 คน
ผู้ปล่อยตัว 2 คน
หัวหน้ากรรมการดูการกลับตัว (อยู่คนละด้านของสระ) 2 คน
กรรมการดูการกลับตัว (อยู่คนละด้านของสระ) 2 คน
หัวหน้าผู้บันทึก 1 คน
ผู้บันทึก 1 คน
ผู้รับรายงานตัว 2 คน
กรรมการเชือกฟาล์ว 1 คน
ผู้ประกาศ 1 คน
        สำหรับการแข่งขันระหว่างชาติรายการอื่น ๆ คณะกรรมการจัดการแข่งขันจะแต่งตั้งกรรมการเจ้าหน้าที่ตำแหน่งต่าง ๆ ในจำนวนเท่ากัน หรือน้อยกว่ากันได้ โดยได้รับความเห็นชอบจากผู้ที่มีอำนาจที่ได้รับมอบหมายจากสหพันธ์กีฬาว่ายน้ำสมัครเล่นนานาชาติ จากการแข่งขันไม่สามารถใช้อุปกรณ์แบบอัตโนมัติได้ แต่ต้องมีการแต่งตั้งกรรมการเจ้าหน้าที่เพิ่มขึ้น คือ หัวหน้าผู้จับเวลา 1 คน ผู้จับเวลาลู่ละ 3 คน หัวหน้าเส้นชัย 1 คน กรรมการเส้นชัย อย่างน้อยลู่ละ 1 คน
กรรมการและเจ้าหน้าที่
ผู้ตัดสินชี้ขาด
        1.ผู้ตัดสินชี้ขาดจะเป็นผู้ควบคุมและมีอนาจเหนือกรรมการและจ้าหน้าที่ทุกคน โดยเป็นผู้มอบหมายหน้าที่และให้คำแนะนำกับเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ เกี่ยวกับระเบียบการแข่งขัน หรือสิ่งที่เป็นลักษณะพิเศษที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขัน โดยใช้กติกาการแข่งขันทั้งหมดของสหพันธ์กีฬาว่ายน้ำสมัครเล่นนานาชาติ (FINA) เป็นเครื่องตัดสิน และจะต้องตัดสินปัญหาทุกชนิดให้เป็นไปตามความเป็นจริงที่พบเห็น จากรายการแข่งขันหรือผู้เข้าร่วมการแข่งขัน การตัดสินขั้นสุดท้ายจะถือว่าสิ้นสุดจะเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นไม่ได้
        2.ผู้ตัดสินชี้ขาดจะอยู่ในการแข่งขันทุกระยะ เพื่อจะได้แน่ใจว่าการแข่งขันได้เป็นไปตามกติกาหรือไม่ และจะสามารถวินิจฉัยการทักท้วงทุกชนิดที่เกี่ยวกับการแข่งขันได้
        3.เมื่อการตัดสินของกรรมการเส้นชัยกับกรรมการผู้จับเวลาไม่ตรงกัน ผู้ตัดสินชี้ขาดจะเป็นผู้กำหนดลำดับที่ให้ และถ้าอุปกรณ์อัตโนมัติสามารถทำงานได้ตามปกติให้พิจารณาตัดสินได้ตามกติกา
        4.เมื่อใช้เครื่องบันทึกภาพหรือวีดีโอเทป ผู้ตัดสินชี้ขาดสามารถนำวีดีโอเทปนั้นมาประกอบการพิจารณาตัดสินใจในกรณีเกิดความสงสัย หรือการประท้วงเกี่ยวกับกับการกลับตัว การเข้าเส้นชัย และการเริ่มต้นในการว่ายผลัดได้
        5.ผู้ตัดสินชี้ขากจะต้องมั่นใจว่าเจ้าหจ้าที่ทุกคนอยู่ในตำแหน่งที่จะสามารถควบคุมการแข่งขันได้อย่างถูกต้อง และจะเป็นผู้พิจารณาแต่งตั้งเจ้าหน้าที่สำรองเข้าแทนที่ เมื่อเจ้าหน้าที่นั้น ๆ ไม่อยู่ หรือมีจำนวนไม่เพียงพอในการปฏิบัติหน้าที่
        6.ในการเริ่มต้นการแข่งจันแต่ละรายการ ผู้ตัดสินชี้ขาดจะให้สัญญาณแก่ผู้เข้าแข่งขัน โดยการเป่านกหวีดเสียงสั้น ๆ เพื่อเตือนให้ผู้เข้าแข่งขันถอดเสื้อวอร์ม หรือใส่แว่นตาเพื่อเตรียมพร้อม จากนั้นจะเป่านกหวีดเสียงยาวเพื่อสั่งให้ผู้เข้าแข่งขันเข้าประจำที่ที่ส่วนหลังแท่นกระโดด (ถ้าเป็นการแข่งขันแบบกรรเชียงและว่ายแบบผลัดผสมให้ผู้เข้าแข่งขันลงไปในสระทันที) เมื่อผู้เข้าแข่งขันและเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ พร้อม ผู้ตัดสินจะให้สัญญาณให้ผู้ปล่อยตัวทราบโดยการเหยียดแขนออก ผู้ปล่อยตัวก็ใช้คำสั่งปล่อยตัวทันที
        7.ผู้ตัดสินชี้ขาดจะตัดสิทธิ์ผู้เข้าแข่งขันที่เจตนาถ่วงเวลา หรือเจตนาทำผิดกติกาการแข่งขันที่ผู้ตัดสินชี้ขาดเห็นหรือได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ที่มีหน้าที่รับผิดชอบ
ผู้ปล่อยตัว
        1.ผู้ปล่อยตัวมีอำนาจควบคุมผู้เข้าแข่งขันอย่างเต็มที่ เมื่อผู้ตัดสินชี้ขาดได้ให้สัญญาณมือแก่เขา จนกระทั่งการแข่งยันได้เริ่มขึ้น
        2.ผู้ปล่อยตัวจะต้องรายงานให้ผู้ตัดสินชี้ขาดทราบถึงกรณีที่นักกีฬาถ่วงเวลาการปล่อยตัว การเจตนาไม่เชื่อฟังคำสั่งหรือการทำผิดมารยาทในการเข้าประจำที่ ผู้ตัดสินชี้ขาดสามารถตัดสิทธิ์ผู้เข้าแข่งขันที่ถ่วงเวลา เจตนาไม่เชื่อคำสั่งหรือการทำผิดมารยาทได้ แต่การตัดสิทธิ์นี้จะไม่นับรวมกับจำนวนครั้งของการฟาล์วในการตั้งต้น
        3.ผู้ปล่อยตัวมีอำนาจเต็มในการปล่อยตัวเพื่อความยุติธรรมในการตั้งต้น ถ้าผู้ปล่อยตัวเห็นว่าการปล่อยตัวครั้งนั้นไม่ถูกต้อง ก็ให้สัญญาณซ้ำเพื่อให้สัญญาณว่ามีการฟาล์วเกิดขึ้น เพื่อจะทำการตั้งต้นใหม่ ยกเว้นภายหลังการฟาล์วเกิดขึ้น 2 ครั้งแล้ว ผู้ปล่อยตัวจะไม่ต้องให้สัญญาณซ้ำอีก คงปล่อยให้การแข่งขันดำเนินต่อไป
        4.การปล่อยตัวแต่ละรายการ ผู้ปล่อยตัวจะยืนอยู่ทางด้านข้างของสระ อยู่ห่างจากขอบสระด้านแท่นตั้งต้นประมาณ 5 เมตร และอยู่ในตำแหน่งที่ผู้จับเวลาสามารถมองเห็นสัญญาณการปล่อยตัวได้ชัดเจน และผู้เข้าแข่งขันทุกคนสามารถได้ยินสัญญาณนั้นได้ชัดเจน
ผู้รับรายงานตัว
        ผู้รับรายงานตัวต้องเตรียมกรอกรายชื่อนักว่ายน้ำลงในแบบฟอร์มรายงานตัวแต่ละรายการก่อนการแข่งขันรายการนั้น ๆ
หัวหน้ากรรมการดูการกลับตัว
        1.หัวหน้ากรรมการดูการกลับตัว จะต้องแน่ใจว่ากรรมการดูการกลับตัวทุกคน จะต้องทำหน้าที่ในระหว่างการแข่งขันได้อย่างเต็มที่
        2.หัวหน้ากรรมการดูการกลับตัว เมื่อได้รับรายงานจากกรรมการดูการกลับตัวว่ามีการทำผิดเกิดขึ้นต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินชี้ขาดทราบทันที
กรรมการดูการกลับตัว
        1.ให้มีกรรมการดูการกลับตัวลู่ละ 1 คน ประจำอยู่ที่ปลายสระ
        2.กรรมการดูการกลับตัวแต่ละคน จะต้องมั่นใจว่าผู้เข้าแข่งขันไม่ได้ฝ่าฝืนกติกาเกี่ยวกับการกลับตัว โดยเริ่มดูตั้งแต่การเริ่มช่วงสุดท้ายของการใช้แขนก่อนแตะขอบสระ และสิ้นสุดลงเมื่อเริ่มต้นช่วงแรกของการใช้แขนหลังการกลับตัว กรรมการดูการกลับตัวที่ประจำอยู่ด้านเส้นชัยจะต้องมั่นใจว่าผู้เข้าแข่งขันได้แตะขอบสระหรือแผ่นแตะอย่างถูกต้องตามกติกาการแข่งขัน
        3.ในรายการแข่งขันประเภทเดี่ยว ระยะทาง 800 เมตร และ 1,500 เมตร กรรมการดูการกลับตัวที่ด้านปลายสระ ต้องบันทึกจำนวนรอบที่ว่ายไปแล้วของผู้เข้าแข่งขันในลู่ว่ายที่ตนรับผิดชอบ และแจ้งจำนวนรอบที่เหลือให้ผู้เข้าแข่งขันทราบด้วยป้ายบอกรอบที่เตรียมไว้นั้น
        4.กรรมการดูการกลับตัวที่ด้านเส้นชัยแต่ละคนจะต้องให้สัญญาณเตือนเมื่อนักว่ายน้ำในลู่ของตนว่ายเข้ามาเหลือระยะทางอีก 5 เมตร ก่อน 2 เที่ยวสุดท้ายที่จะสิ้นสุดการว่ายระยะทาง 800 เมตร และ 1,500 เมตร สัญญาณเตือนอาจใช้สัญญาณนกหวีดหรือระฆังก็ได้
        5.กรรมการดูการกลับตัวที่ด้านเส้นชัยแต่ละคน จะเป็นผู้ดูการตั้งต้นของผู้แข่งขันในรายการว่ายผลัด ว่าการแระโดดเริ่มของผู้แข่งขันคนถึดไปนั้นได้กระโดดออกจากแท่นตั้งต้น เมื่อผู้ว่ายคนก่อนได้แตะขอบสระหรือแผ่นแตะแล้ว
        6.กรรมการดูการกลับตัว จะต้องรายงานการทำผิดระเบียบต่าง ๆ พร้อมรายละเอียดในแบบฟอร์ม โดยแจ้งถึงรายการแข่งขัน หมายเลขลู่ว่าย ชื่อผู้เข้าแข่งขัน และรายละเอียดต่าง ๆ ของการทำผิดระเบียบให้หัวหน้ากรรมการกลับตัวทราบ เพื่อจะได้รายงานให้ผู้ตัดสินชี้ขาดทราบทันที
กรรมการดูฟาล์ว
        1.กรรมการดูฟาล์วจะต้องอยู่ด้านข้างของสระแต่ละด้าน
        2.การรมการดูฟาล์วแต่ละคน จะต้องเข้าใจกติกาการแข่งขันเกี่ยวกับแบบของการว่ายแต่ละประเภทเป็นอย่างดี แต่จะต้องดูการกลับตัวเพื่อช่วยกรรมการดูการกลับตัวด้วย
        3.กรรมการดูฟาล์วจะต้องรายงานการทำผิดระเบียบต่าง ๆ ต่อผู้ตัดสินชี้ขาด โดยบันทึกรายละเอียดลงในใบบันทึก แจ้งถึงรายการแข่งขัน หมายเลขลู่ว่าย ชื่อผู้เข้าแข่งขัน และรายละเอียดการทำผิดระเบียบนั้น ๆ
หัวหน้ากรรมการจับเวลา
        1.หัวหน้ากรรมการจับเวลาจะต้องเป็นผู้กำหนดตำแหน่งที่นั้งสำหรับกรรมการจับเวลาแต่ละลู่ให้ทำหน้าที่รับผิดชอบ ในแต่ละลู่ว่ายจะมีกรรมการจับเวลา 3 คน และมีกรรมการจับเวลาสำรองอีก 2 คน เพื่อทำหน้าที่แทนในกรณีที่นาฬิกาจับเวลาเรือนใดเกิดขัดข้องในระหว่างการแข่งขัน หรือด้วยเหตุผลใด ๆ ที่ไม่สามารถจับเวลาได้
        2.หัวหน้ากรรมการจับเวลาจะต้องเก็บรวบรวมแบบฟอร์มบันทึกเวลาจากกรรมการจับเวลาทุกคน และถ้ามีความจำเป็นอาจทำการตรวจสอบนาฬิกาเรือนนั้น ๆ ได้
        3.หัวหน้ากรรมการจับเวลา จะต้องตรวจสอบเวลาที่เป็นทางการในใบบันทึกเวลาแต่ละลู่ว่ายทุกครั้ง
กรรมการจับเวลา
        1.กรรมการจับเวลาแต่ละคนจะตับเวลาของผู้เข้าแข่งขันในลู่ว่ายที่ตนรับผิดชอบ นาฬิกาจับเวลาแต่ละเรื่อนจะต้องได้รับการรับรองจากคณะกรรมการดำเนินการแข่งขัน
        2.กรรมการจับเวลาแต่ละคนจะเริ่มต้นเดินนาฬิกาเรือนของตนเอง เมื่อได้รับสัญญาณเริ่มต้น และต้องหยุดเวลาเมื่อผู้เข้าแข่งขันในลู่ว่ายของเขาได้สิ้นสุดการว่ายที่สมบูรณ์ กรรมการจับเวลาอาจจะได้รับคำสั่งจากหัวหน้ากรรมการจับเวลาให้จับเวลาในระยะทางอื่น ๆ ในการแข่งขันที่มีระยะเกินกว่า 100 เมตรด้วยก็ได้
        3.ทันทีที่การแข่งขันได้สิ้นสุดลง กรรมการจับเวลาในแต่ละลู่ว่ายจะต้องบันทึกเวลาของตนลงบนใบบันทึก และมอบให้หัวหน้ากรรมการจับเวลา และถ้ามีข้อสงสัยของตรวจสอบเวลาอีกได้ และจะต้องให้ตรวจสอบได้ทันที กรรมการจับเวลาจะต้องไม่ลบเวลาของตน จนกระทั่งได้รับสัญญาณจากหัวหน้ากรรมการจับเวลาหรือผู้ตัดสินชี้ขาดให้ลบเวลา
        4.นอกจากจะมีการใช้ระบบวีดีโอเทปเป็นเครื่องช่วยความจำเป็นอย่างดียิ่งของกรรมการจับเวลา ทั้ง ๆ ที่มีการใช้อุปกรณ์แบบอัตโนมัติทำหน้าที่อยู่ด้วยก็ตาม
หัวหน้ากรรมการเส้นชัย
        1.หัวหน้ากรรมการเส้นชัย จะเป็นผู้มอบหมายให้กรรมการเส้นชัยแต่ละคนอยู่ในตำแหน่งที่กำหนดไว้
        2.ภายหลังการแข่งขันแต่ละรายการ หัวหน้ากรรมการเส้นชัยจะรวบรวมผลการแข่งขันจากกรรมการเส้นชัยแต่ละคน และให้ลำดับที่การเข้าเส้นชัยของผู้เข้าแข่งขันตามลำดับ พร้อมนำส่งผลนั้นต่อผู้ตัดสินชี้ขาด
        3.เมื่อมีการใช้อุปกรณ์แบบอัตโนมัติทำหน้าที่ตัดสินการเข้าเส้นชัยในการแข่งขัน หัวหน้ากรรมการเส้นชัยจะต้องบันทึกลำดับที่การแข่งขันที่ใบบันทึกด้วยเครื่องอัตโนมัติ ภายหลังการแข่งขันแต่ละรายการได้สิ้นสุดลง
กรรมการเส้นชัย
        1.กรรมการเส้นชัยจะต้องนั่งประจำที่ที่อัฒจันทร์เส้นชัยที่ตั้งอยู่แนวเดียวกับเส้นชัย และอยู่ในตำแหน่งที่สามารุมองเห็นเส้นชัยได้อย่างชัดเจน นอกจากในกรณีที่มีการใช้อุปกรณ์แบบอัตโนมัติ เพื่อแบ่งความรับผิดชอบในลู่ว่ายที่ได้รับมอบหมายด้วยการกดปุ่มสัญญาณของการแตะเส้นชัยของผู้ว่ายในลู่ของตนเท่านั้น
        2.หลังการแข่งขันแต่ละรายการ กรรมการเส้นชัยจะต้องตัดสินลำดับที่ของผู้เข้าแข่งขันในลู่ที่ได้รับมอบหมาย กรรมการเส้นชัยจะทำหน้าที่ในการกดปุ่มสัญญาณเท่านั้น จะไม่ไปทำหน้าที่ก้าวก่ายการจับเวลาในรายการเดียวกันนี้
เจ้าหน้าที่ควบคุมผลการแข่งขัน
        1.หัวหน้าผู้บันทึกจะมีหน้าที่รับผิดชอบตรวจสอบผลการแข่งขันที่ใบบันทึกด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์เกี่ยวกับสถิติและลำดัลที่ในแต่ละรายการ ได้รับจากผู้ตัดสินชี้ขาด และจะต้องดูการเซ็นชื่อกำกับผลการแข่งขันของผู้ตัดสินชี้ขาดด้วยว่าได้เซ็นชื่อรับรองผลหรือไม่
        2.ผู้บันทึกจะต้องควบคุมและเก็บหลักฐานของการสละสิทธิ์ การทำสถิติใหม่ ตลอดทั้งเก็บผลการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นรอบคัดเลือกหรือรอบชิงชนะเลิศไว้อย่างครบถ้วน กรรมการเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ จะต้องตัดสินใจด้วยตัวของตัวเองในการตัดสินปัญหาต่าง ๆ นอกเสียจากว่าปัญหานั้น ๆ กติกาได้บอกไว้อย่างชัดเจนแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น