วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2554

บ้านแต่ละภาค


       
บ้านไทยสี่ภาค เป็นการ จำลองบ้านไทยตามลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่เด่นชัดจาก ๔ ภาคในประเทศไทย ทั้งภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอิสาน และภาคใต้ ภายในบ้านแต่ละหลังจำลองวิถีชีวิตความเป็น อยู่ของคนไทยในแต่ละภาค ที่สอดคล้อง กับสภาพสังคมวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม
 
Thai Style Houses in Four Regions

Four regional Thai style houses
Thai style houses from the four regions in Thailand: northeastern, northern, central and southern, are built to show the unique architectural styles of each region. Inside each house are artifacts to tell about the way of life of the people in that region. They have different beliefs and customs about religion and nature, which all blend in harmoniously with the social and cultural environment of each region.



ภาคใต้เป็นบริเวณที่มีสภาพทาง ภูมิศาสตร์ที่แตกต่าง
ไปจากภาคอื่นๆ ของประเทศ อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ที่มี ฝนตกชุก เนื่องจากได้รับลมมรสุมตะวันตกเฉียงเหนือ
และ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ทำให้ภาคนี้มีฝนตก
ชุก ตลอดทั้งปี ซึ่งกลายเป็น อิทธิพลสำคัญ ต่อการ
กำหนดรูปแบบเรือนพักอาศัยของประชาชนในภาค
ใต้ ลักษณะ เรือนพักอาศัยของชาวใต้นั้นมักจะเป็น
เรือนไม้ยกพื้นสูง และเป็นเรือนแฝด และสามารถต่อ
ขยายไปได้ตาม ลักษณะของครอบครัว มีชานเชื่อมต่อ
กัน ข้างฝาใช้ ไม้กระดาน หรือไม้ไผ่สาน มุงหลังคา
ด้วย วัสดุที่หา ได้ง่ายในท้องถิ่น บ้างก็เพิ่มหรือ
ลดระดับขั้น เรือน เพื่อแยก กิจกรรมต่างๆ ออกจากกัน
จึงทำให้เรือนไทยมุสลิมมี การเล่นระดับพื้น ใต้ถุนเรือนใช้เป็น ที่พักผ่อน เก็บของ หรือประกอบอาชีพเสริม เช่น ทำกรงนก

          ลักษณะที่โดดเด่นของเรือนไทยทางภาคใต้ คือหลังคาที่มีทรงสูง มีความลาดเอียง ลงเพื่อให้น้ำฝน ไหลผ่านได้ อย่างสะดวก ชายคาต่อยาวออกไปคลุมถึงบันได เนื่อง จากฝนตกชุกมาก เสาเรือนไม่นิยมฝังลงไปในพื้นดิน แต่จะใช้ “ตอม่อ” หรือฐาน เสาที่ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ศิลาแลง หรือที่ทำจากการก่ออิฐฉาบปูนรองรับ เป็น ลักษณะเด่นของเรืองทางภาคใต้ เรือนไทย เรียกได้ว่าเป็นเรือนไทยที่มี “ตีนเสา” เพื่อป้องกันปัญหาการผุกร่อนของเสาเมื่อได้รับความชื้นจากพื้นมาก ๆ วิธีการ สร้างนั้น จะประกอบส่วนต่างๆ ของเรือนบนพื้นดินก่อน แล้วจึงยกส่วน โครงสร้างต่างๆ ขึ้นประกอบเป็นตัวเรือน อีกทีหนึ่ง การวาง ตัวเรือนจะหันเข้าหา เส้นทางสัญจรทั้งทางน้ำและทางบก ซึ่งสามารถรับลมบกและลมทะเลได้ การ วางตัว เรือนแบบนี้ ทำให้คนทางภาคใต้หันหัวนอนไปทางทิศใต้เป็นหลัก รอบ บริเวณบ้านไม่มีรั้วกั้นแต่จะปลูกไม้ผลเช่น มะพร้าว มะม่วง ขนุน หรือ กล้วย เอาไว้เป็นร่มเงาและแสดงอาณาเขตของบริเวณบ้านแทน นอกจากเรือนพักอาศัย แล้ว ยังมีอาคาร ประกอบบ้านเรือน ได้แก่ “ศาลา” ซึ่งมีรูปทรงหลังคาเปลี่ยน ลักษณะไปตามความนิยมของรูปแบบของเรือนพักอาศัย และการสร้างก็ขึ้นอยู่ กับลักษณะการใช้สอย เช่น ใช้สำหรับพบปะสังสรรค์ หรือ เป็นศาลาริมทาง
ประชากร ในภาคใต้ประกอบด้วยชาวไทยพุทธ และชาวไทยมุสลิมเป็นหลัก
ทำให้มี ขนบธรรมเนียม และวัฒนธรรมประเพณีที่หลากหลาย จะเห็นได้ชัด
จากการใช้ภาษา มลายู และภาษาไทย เป็นต้น   ชาวใต้ประกอบอาชีพ
ทำประมง วิถีชีวิตผูกพันกับท้อง ทะเล เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่โอบล้อมด้วยทะเลทั้ง ๒ ฝั่ง บางพื้นที่ประกอบอาชีพ กสิกรรม  เช่นยางพารา เงาะ ทุเรียน ลางสาด และ ลองกอง เป็นต้น

          วิถีชีวิตวัฒนธรรมพื้นบ้านของชาวภาคใต้ มาจากรากฐานของ
วัฒนธรรม พื้นบ้านในท้องถิ่น ที่ได้สั่งสมความรู้และความประพฤติ
สืบทอดกันมาตั้งแต่ ครั้งอดีตจนถึง ปัจจุบัน การดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย
เครื่องแต่งกายของ ฝ่ายชาย จะนุ่งผ้าโสร่ง ใส่เสื้อคอกลม นิยมใช้ผ้าขาวม้า
พาดบ่า ฝ่ายหญิง นิยมนุ่งซิ่น หรือผ้าปาเต๊ะ ใส่เสื้อ คอกลม

          เอกลักษณ์ประจำภาคใต้โดยเฉพาะฝ่ายหญิงต้องทอผ้าได้เอง
มื้ออาหารของชาวใต้นั้น จะทานข้าวเจ้าเป็นหลักและทานอาหารรสจัด
ปรุงแต่งสี กลิ่น รส ด้วยเครื่องเทศและสมุนไพร มีผักสดเป็นส่วนประกอบ
อาหารที่สำคัญอยู่ในอาหารทุกมื้อ บ้านเรือนส่วนมากนิยมเลี้ยงนกไว้
กิจกรรมยามว่างมีการละเล่นและการ แสดงที่สร้างความบันเทิงอย่าง
หนังตะลุง อันเป็นอีกวัฒนธรรมที่เป็นที่รู้จักและ เป็นเอกลักษณ์ ของภาคใต้
สภาพ ทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างไปจากภาคอื่น ๆ ของ ประเทศ เป็นบริเวณ
ที่มีฝนตกชุก ความชื้นสูงมี 2 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อนและฤดูฝน ในฤดูร้อน อากาศ
จะไม่ร้อนจัดเหมือนภาคอื่นๆเพราะภาคนี้ได้รับ ลมมรสุมตะวัน ตกเฉียงเหนือ
และลมมรสุม ตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้ภาคนี้มีฝนตกชุกตลอดทั้งปี ซึ่ง
เป็นอิทธิพลสำคัญต่อการกำหนดรูปแบบเรือนพักอาศัยของประชาชนในภาคใต้
 
Traditional Thai House in the South
The southern part of Thailand is very different from other parts of the country. It has two seasons—rainy and summer season. People in the southern provinces have to face heavy rain and scattered thunder showers several times a year. And when the hot or summer season comes, it’s not as sultry as the other parts of the country since there are mild winds from the northwest and southeast. The winds also bring rain during the summer so people living in the south have to bear with rain for nearly the whole year, which has also influenced their way of building houses.

The traditional Thai house in the south has a high ceiling and more slope to let the rainwater fall down easily into storage pots. The pillars of the house are made of hard wood and have cement bases to prevent rotting in the humid weather. There is no fence around the house, but people usually grow edible trees and other plants such as banana, mango, coconut, and jackfruit to show the border of each house.

Aside from the traditional Thai house, other buildings and Sala (relaxing pavilions) are also built with regard for their practical use and benefit as well as aesthetics. For example, some are general pavilions and some are rendezvous or meeting places.

Rice is the main course for southern people and they also like to eat hot and spicy dishes with fresh vegetables at every meal. “Nang Ta Lung,” the traditional outdoor shadow play, is a night time show of puppets made from leather. It is one of the most charming and interesting things about the southern part of Thailand.



ลักษณะภูมิอากาศทางภาคเหนือค่อนข้างหนาวเย็น พื้นที่ส่วนใหญ่โอบล้อมไปด้วยหุบเขา ทำให้บ้านเรือนไทยภาคเหนือ ถูกออกแบบ ให้มีลักษณะมิดชิดเพื่อกันลมหนาว ผสมผสานกับ ความเชื่อ และวัฒนธรรมในท้องถิ่นเป็นตัวกำหนด ทำให้เกิดเป็นโครงสร้างสถาปัตยกรรม แบบง่าย ๆ ใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น เป็นสถาปัตยกรรมท้องถิ่นหรือพื้นบ้าน ตามแบบ วัฒนธรรมล้านนา
      
        ลักษณะทั่วไปของเรือน
ทางภาคเหนือ นิยมสร้างเป็น
เรือนแฝด เรียกว่า เรือนสอง หลังร่วมพื้น เป็นเรือนทึบ เนื่องจากฤดูหนาวทางภาคเหนือจะหนาวมาก ทำให้มี ลักษณะเฉพาะทางรูปทรง หลังคาและสัดส่วนของเรือนเตี้ยกว่าเรือนไทยภาคอื่นๆ
ฝาเรือนลาดเอียง โดยให้
ตอนบนเอียง ออกด้านนอก
มีหน้าต่างน้อย เจาะช่อง
หน้าต่างแคบๆ ช่วยป้องกันลมหนาว จากภายนอก และ รักษาความอบอุ่น
ภายในตัวบ้าน มี “เติ๋น” หรือระเบียงอยู่บริเวณหน้า เป็นส่วนที่อยู่ใต้ ชายคา
มีเนื้อที่ ๒ เสา ใช้เป็นบริเวณอเนกประสงค์ นั่งเล่น หรือรับประทานอาหาร
จั่วด้านหน้าเรือน มีหิ้งพระพุทธรูป และมี “หำยนต์” ติดตั้งเหนือประตู เข้าห้องนอนรวม เป็นความเชื่อว่าสามารถป้องกันภัย อันตรายต่างๆ ไม่ให้เข้ามาในห้องนอน มีหิ้งผีปู่ย่า คือ ผีบรรพบุรุษ แต่บางแห่งก็ตั้งเป็นศาล เล็กๆ ไว้ในบริเวณ บ้าน นอกชานมีร้านน้ำสำหรับตั้งหม้อน้ำดื่ม บนยอดจั่ว หลังคามีป้านลมไขว้กันอยู่บนเรียกว่า “กาแล” ใต้ถุนยก สูงพอสำหรับเก็บ เครื่องใช้ในการเกษตร ตั้งหูกทอผ้า หรือยกเป็นร้านเตี้ยๆ ใช้นั่งรับแขก หรือนั่งเล่น และมี นอกชานตั้งอยู่ทางด้านจั่วตอนหน้าและตอนหลังของเรือน
 
        วิถีชีวิตของชาวเหนือ วัฒนธรรมท้องถิ่นเรียกว่า วัฒนธรรม “คนเมือง “ หรือ “คนล้านนา” ตามชื่อ ของอาณาจักรที่มีการปกครองแบบนครรัฐ ดำรงชีวิต แบบเกษตรกร ในสังคมมีการนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์และ วิญญาณของ บรรพบุรุษที่เรียกว่า “ผี” วิถีการดำเนิน ชีวิตเรียบง่าย เช่น ฝ่ายชายจะ นุ่งผ้าต้อย (แบบโจง กระเบน) หรือกางเกงขาก๊วย ใส่เสื้อคอกลมย้อมสี ครามเรียกว่า “เสื้อม่อฮ่อม” และกางเกงเป้ายาวทรง หลวมที่เรียกกันว่า “เตี่ยวสะตอ” ฝ่ายหญิงจะนุ่งผ้าซิ่น ลาย สวมเสื้อคอกลมแขนยาว อาหารของ ชาวภาคเหนือ นั้นนิยมรับประทานข้าวนึ่ง หรือข้าวเหนียวและลาบ เป็นหลัก อาหารหรือกับข้าวจะใส่ถ้วยขนาดเล็กวางบน ภาชนะที่เรียกว่า “ขันโตก” เป็นถาดที่มีขนาดพอดีกับ การรับประทานบนพื้นเติ๋น
 
          ชาวเหนือมีภาษาพูดที่มีความ ไพเราะอ่อนหวาน แสดงถึงความสุภาพ อ่อนโยนในจิตใจ ความโอบอ้อมอารี และความเป็นมิตร ยามว่างจะทำ หัตถกรรมจักรสานและนำมาทำเป็นข้าวของเครื่องใช้ ในครัวเรือน การแสดง และการละเล่นมักจะแสดงออก ถึงความรู้สึกนึกคิด โดยผ่านภาษาวรรณกรรม ดนตรี และงานฝีมือที่ได้สั่งสมความรู้
 
Traditional Thai House in the North
The traditional Thai house built in the northern region of Thailand is actually different from traditional houses built in other regions of the country. Thai houses in the north have to be more protective against the cool climate. The architecture of northern style Thai houses is derived from local beliefs and ancient Lanna culture. One beautiful example of the traditional Thai Lanna art, culture, and architecture can be seen at Doi Tung, the Princess Mother’s villa and gardens, also known as Mae Fah Luang (Mother of the Sky).

The traditional Thai Lanna house or khum and Baan Boran (ancient house) was erected for people of high rank. The traditional Thai house in the north is usually built in a twin style with a duplex of two adjacent houses. The general appearance is designed to protect against the cooler climate of the north. The ceiling is lower and the house is not raised as high above the ground, and there are fewer windows compared to the traditional Thai houses built in the central region and in the Isaan area.

The northern house usually has a vast area of balcony in the front of the house to welcome the fresh air and the dreamy sound of the bird chorus in the morning. The balcony plays as the reception or multi-purpose area.

The way of life of the northern people is very simple. They have their own unique northern language, nice northern foods, and many more wonderful traditions, which are a priceless heritage passed down from their ancestors.


What is regarded as the most prominent symbol of the traditional Thai Lanna house is the distinctive wooden crossing symbol on the roof of the house, which the local people call “Ka Lae”. Ka Lae is an auspicious symbol that has been used generation after generation with the original aim of dispelling the black bird “Ka”, a kind of crow with bad behavior that the northern people believe would bode ill to the house.


        การตั้งบ้านเมืองในภูมิภาคอีสานตั้งแต่สมัยโบราณ มัก เลือกทำเลที่ตั้งอยู่ตามที่ราบลุ่มอันมีแม่น้ำสำคัญๆ เช่น น้ำโขง น้ำมูล
น้ำชี น้ำพอง เป็นต้น นอกจากนี้ก็อาศัย ตามริมหนองบึง ถ้าพื้นที่ใดเป็นที่ราบน้ำท่วมถึง ก็ขยับ ขยายไปอยู่ บนโคก เนิน เป็นส่วนใหญ่ การตั้งหมู่บ้าน เรือนจะ กระจุก รวมตัวกัน ต่างจากทางภาคกลาง ชาวอีสาน มีความเชื่อในการสร้างเรือนให้ด้านกว้างหัน ไปทาง ทิศตะวันออกและตะวันตก ให้ด้านยาวหันไปทาง ทิศเหนือและใต้ ซึ่งเป็นลักษณะที่เรียกว่าวางเรือนแบบ “ล่องตาเว็น” เชื่อว่าหากสร้างเรือน “ขวางตาเว็น” และจะ “ขะลำ” คือเป็นอัปมงคล ทำให้ผู้อยู่ไม่มีความ สุข
         
        รูปแบบของเรือนไทยภาคอีสาน เสายกพื้นค่อนข้างสูง ทำให้มีพื้นที่ใต้ถุนสูง ใช้เป็นที่ ประกอบหัตถกรรมครัว เรือน ทอผ้า ใช้เก็บไห หมักปลาร้า เป็นคอกเลี้ยงสัตว์ เก็บอุปกรณ์ทำไร่ทำนา ไปจนถึงจอดเกวียนหรือล้อก็ได้ ถือว่าเป็น บริเวณ ที่มีการใช้สอยมากที่สุด มักทำยุ้งข้าว ไว้ใกล้ๆ เรือน หลังคาใช้วัสดุในท้องถิ่นคือมุงด้วยหญ้าหรือสังกะสี ฝาเรือนมักใช้ฝาแถบตอง โดยใช้ใบกุงหรือใบชาดมา ประกบด้วยไม้ไผ่สานโปร่งเป็นตาตาราง หรือทำเป็น ฝาไม้ไผ่สาน มีส่วนที่เรียกว่า “เกย” (ชานโล่งมีหลังคา คลุม) เป็นพื้นที่ลดระดับลงมาจาก เรือนนอน ใหญ่ มักใช้ เป็นที่รับแขก ที่รับประทานอาหาร ส่วนของใต้ถุนจะ เตี้ยกว่าปกติ ใช้เป็นที่เก็บฟืน “ชานแดด” เป็นบริเวณ นอกชานเชื่อมระหว่างเกย เรือนแฝด กับเรือนไฟ มี บันไดขึ้นด้านหน้าเรือน มี “ฮ้างแอ่งน้ำ” เป็นที่วางหม้อดิน ใส่น้ำดื่มอยู่ตรงขอบ ของชานแดด บริเวณรอบๆเรือนอีสานไม่นิยมทำรั้วเพราะเป็นสังคมเครือญาติ วัฒนธรรมไทยอีสานที่สืบทอดกันมา จนถึงปัจจุบัน ส่วนใหญ่ ได้รับอิทธิพลมาจากกลุ่มชนในสายวัฒนธรรมไต-ลาว ซึ่งตั้ง ถิ่นฐานกระจัดกระจายอยู่ตาม แนวลำน้ำโขงฝั่งขวาที่อพยพ ถ่ายเทครัวเรือนมาสู่ฝั่งซ้าย คือภาคอีสานของไทย และเพื่อ ให้ชีวิตความเป็นอยู่สอดคล้อง กับสิ่งแวดล้อมใหม่ จึงได้มีการ พัฒนาการทางสังคม การเมือง วัฒนธรรม ตลอดจนความ เชื่อและศาสนาขึ้นใหม่จนเกิดเป็น “วัฒนธรรมไทยอีสาน”
          ชาวภาคอีสานดำเนินชีวิตประจำวันแบบพึ่งตนเอง ฝ่ายชาย ชาวภาค อีสานมักนิยมนุ่งโสร่งหรือกางเกงขาก๊วย ใส่เสื้อ คอกลม ใช้ผ้าขาวม้าคาดเอว ฝ่ายหญิงนิยมนุ่งผ้าซิ่น ใส่เสื้อ คอกลมแขนยาว ถือว่าเป็นเอกลักษณ์ประจำ ภาคโดยเฉพาะ ในอดีตผู้หญิงชาวบ้านทุกคนต้องทอผ้าที่ผลิตเองใช้เองโดย เฉพาะซิ่น แต่ละครอบครัวจะผลิตหลายอย่าง เช่น ทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ ทอผ้า เครื่องจักสานและหาอาหาร ผล ตอบแทนที่ได้จากการผลิต คือ ข้าว อาหาร เสื้อผ้า เครื่อง นุ่งห่มและเครื่องใช้ ซึ่งเพียงพอสำหรับทุกคน ในครอบครัว การประกอบอาหารจึงใช้วัตถุดิบที่หาได้จากท้องถิ่น อย่าง เห็ด หน่อไม้หรือผักหวานจากป่า กุ้ง ปู ปลา จากแม่น้ำ หรือ เป็ด ไก่ จากการเลี้ยง ไว้ใต้ถุนบ้าน ให้ความสำคัญเรื่อง รสชาติอาหาร นิยมกินอาหารสด เช่น ส้มตำ รับประทาน ข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก นิยมทอผ้าไหม มีลวดลายเป็น เอกลักษณ์ของภาคอีสาน การละเล่นและเครื่องดนตรี มีจังหวะที่ครึกครื้น สนุกสนาน อย่างหมอลำ และศิลปะการรำฟ้อนที่เรียกกันว่า “เซิ้ง” ชุมชน ในภาคนี้มีความเป็นหมู่คณะสูงทั้งในระดับครอบครัว และเครือญาติ ความเชื่อชาวอีสานยังคงเชื่อถือเรื่องผีต่างๆ อยู่มาก เช่น ผีบรรพบุรุษ ผีนา ผีไร่ ผีปู่ตา (รักษาหมู่บ้าน) ทุกหมู่บ้านต้องสร้างศาลปู่ตา และประกอบ พิธีเซ่นไหว้อยู่ เป็นประจำ อย่างพิธีบายศรีสู่ขวัญในโอกาสสำคัญ เช่น การแต่งงาน การบวช การเจ็บป่วย การต้อนรับแขกผู้มา เยือน พิธีกรรมต่างๆ เกิดขึ้นเพื่อความสบายใจเป็นหลัก เช่น ประเพณีแห่ผีตาโขน บั้งไฟ แห่เทียนพรรษา และไหลเรือไฟ เป็นต้น
Traditional Thai House in the Northeast
Most of the tradition and culture of Thailand’s northeastern region is influenced by the culture of the Tai-Laos minority, who long ago made scattered settlements along the east bank of the Mekong River before evacuating to the west bank of the river or the northeastern of part of Thailand, which is known as “Isaan.” The Tai-Laos population adapted their traditions and culture to the new way of living, society, political situation, and religious beliefs of their new home until they originated what we call Thai-Isaan traditions and culture.

Isaan people build their houses in the unique and auspicious style of “Long Ta Wen.” The shorter side of the Isaan house usually faces east or west while the longer side of the house will face north or south. They believe that building a house this way will make the owner happy and lucky. Like the houses in the central region, the Isaan houses are elevated up from the ground, providing a large space under the house that can be used for many purposes such as family activities, agricultural jobs, weaving, or for storing rice, fermented fish, and other products. It is a multipurpose area useful for the whole family.

The roofs of Isaan houses are either thatched with clumps of hay woven together or made of corrugated iron for better protection when the rainy season comes. All sides of the house will be covered with banana leaves. Since the Isaan community is an open society, there are no fences or other dividers between the houses. At least that was the tradition in the past, but it is rarely seen today. Most people in the region have now changed their style of house construction along with the times and the economic situation. Now you can hardly see any Isaan houses built with hay roofs or other local materials, except for some poorer families who don’t have enough money to upgrade their house.

As for food, Isaan people like to eat fresh meat and also pay importance to how it is flavored and seasoned. Favorite dishes of the region are Som Tam (green papaya spicy salad) Lab and Num Tok (half raw beef or pork salad) and Khao Niew (sticky rice). Another outstanding part of Isaan culture is excellent silk weaving.



ชุมชนบ้านเรือนในแถบภาคกลาง เป็นสังคม เกษตรกรรม แถบพื้นที่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ ซึ่งมีแม่น้ำสายหลักๆ
อย่าง แม่น้ำเจ้าพระยาแม่น้ำลพบุรี แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำสายอื่นๆ อีกมากมาย ชาวบ้านในภาคกลางจึงผูกพัน และใช้ประโยชน์ต่าง ๆจากแม่น้ำ เนื่องจากภาคกลางมีภูมิอากาศที่ร้อนอบอ้าว เกือบจะตลอดทั้งปี คนจึงนิยมปลูกบ้านริมน้ำ ตัวบ้านสร้างขึ้นด้วยไม้เป็นเรือนชั้นเดียวแบบ เรียบง่าย มีการออกแบบให้ป้องกันความอบ อ้าวของอากาศ ฝน และแสงแดดจ้า โดย หลังคาจะมีลักษณะเป็นทรงสูง เพื่อให้ความ ร้อนจากหลังคาถ่ายเทความร้อนสู่ห้องได้ช้า และทำให้น้ำฝนไหลลงจากหลังคาได้รวดเร็วไม่มีน้ำขัง วัสดุมุงหลังคามักใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น หญ้าคา จากแฝก ตองตึง ไม้ที่ตัดเป็น แผ่น เล็กๆ ที่นิยมกันมากคือกระเบื้องดินเผา ซึ่ง เป็นหัตถกรรมพื้นบ้านขนาดของเรือน ขึ้นอยู่ กับฐานะทางเศรษฐกิจของผู้อาศัย ห้องนอน น้อยห้อง ไม่นิยมนอนเตียง เรือนมีใต้ถุนสูง และนิยมปลูกบ้านหันหน้า หรือหันด้านแคบของ บ้านไปทางทิศตะวัน ออกเพื่อรับแดด ในขณะ ที่ด้านยาวก็จะได้รับลม และถ่ายเทอากาศ มี การวางแปลนบ้านเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ส่วน ชายคาบ้านมี ลักษณะยื่นยาวออกไป เรียกว่า“ไขรา หรือ กันสาด” ช่วยป้องกันความร้อนและแสง แดดกล้า โดยเฉพาะแดดเช้าและบ่ายในยาม ที่ดวง ตะวันอ้อมในฤดูหนาว ไม่ให้เผาฝาผนังของบ้านจน ร้อนเกินไป ตัวฝาผนังของบ้านเป็นกรอบที่เรียกว่า “ฝาลูกฟัก” หรือเรียกว่า “ฝาปะกน” สามารถยก ถอดประกอบกันได้ เป็นลักษณะเฉพาะของเรือนไทย ภาคกลาง ในส่วนของระเบียง มักสร้างขนานไปตามความยาว ของเรือน มีชานเรือนยาวต่อไปจนถึงตัวเรือนและ ห้องน้ำ บริเวณใต้ถุนบ้านนั้นจะยกสูงเพื่อ ป้องกัน น้ำท่วมในฤดูน้ำหลากและยังช่วยป้องกันสัตว์ร้ายอีก ด้วย นอกจากนี้ใต้ถุนยังสามารถใช้เก็บข้าวของหรือ เลี้ยงสัตว์ ได้อีกด้วย หากมีการขยับขยายครอบครัว ก็จะมีการสร้างเรือนในบริเวณให้มากขึ้นและเชื่อมต่อ กันด้วยชานบ้าน บ้านไทย นิยมแยก “เรือนครัว หรือ ครัว” ไว้อีกส่วนหนึ่ง กันเขม่าไฟ ควันจากเถ้าถ่าน เพราะสมัยก่อนใช้ไม้มาเป็นเชื้อเพลิงเพื่อ หุงหาอาหารวิถีชีวิตของชาวภาคกลางนั้นจะผูกพันอยู่กับสายน้ำ เป็นหลัก ใช้เรือเป็นพาหนะในการไปมาหาสู่ จับจ่าย ซื้อของ ระหว่างกัน เป็นสังคมเกษตรกรรม รับประทาน ข้าวเจ้าเป็นอาหารหลัก การประกอบอาหารของชาว ภาคกลางนั้น ใช้วัตถุดิบที่สามารถหาได้ง่าย เช่นผัก บุ้ง ผักกะเฉด ที่ผลิตได้เองในแต่ละครัวเรือน รับ ประทานน้ำพริก ผักต้ม หรือผักสด ประกอบอาหาร ทุกมื้อ
 
ส่วนการแต่งกาย นิยมแต่งกายแบบเรียบง่าย สวมใส่กางเกง ขาก๊วย เสื้อคอกลม มีผ้าขาวม้าไว้พาด บ่า คาดเอว หรือไว้ใช้อเนกประสงค์ ฝ่ายหญิง จะนุ่ง ผ้าถุงหรือโจงกระเบน สวมเสื้อคอกลม แขนยาวหรือ เสื้อเชิ้ต หากมีงานออกสังคม ส่วนใหญ่ไปทำบุญที่วัด ตามคตินิยม ลักษณะ ของครอบครัวอยู่รวมกันเป็น ครอบครัวใหญ่ นิยมปลูกเรือนเพิ่มให้กับสมาชิก ครอบครัว ในพื้นที่รอบรั้วเดียวกัน
 
 
 
Thai House in the Central Region
The style and architecture of the traditional Thai house (Ruen Thai) were influenced by the people’s belief in Buddhism and in supernatural powers. Also, Thai houses were built in accordance with the people’s way of life in the past, the tropical geography of the country, and certainly to fit in with the agricultural way of life. The traditional Thai house was designed to resist humidity, heavy rain, hot temperatures, floods, and invasion by hazardous creatures that might harm the family. The front of the house usually faces the East. The status or wealth of the owner is reflected in the size of the house.

The traditional Thai houses of the central region were very simple, built using local materials, with no separate bedrooms or partitions in the house. Normally, the floor plan is a rectangle, with no second floor, and a high ceiling for better ventilation of hot temperatures and humid atmosphere.
A unique component of the wooden structures of traditional Thai architecture is the use of a bracketing system to join pieces of wood without using any nails or metal parts.


Traditional Thai houses are usually built elevated up from the ground in case of floods and for security reasons. The shady space underneath is suitable for keeping animals such as cows and poultry, or for storing rice, produce, and agriculture tools and equipment.
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น