วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2554

รัชกาลที่ ๙

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

 
(168 votes)
รัชกาลที่ ๙
พระราชประวัติรัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
(ประสูติ พ.ศ. 2470 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2489 - ปัจจุบัน)

             พระราชประวัติ
             พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงสมภพเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณ เมืองเคมบริจดจ์มลรัฐเมสสาชูเสท ประเทศสหรัฐอเมริกา ทรงเป็นพระราชโอรสาธิราช องค์ที่ 3 ในสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ ( สมเด็จพระศรีนครินทรทรา บรมราชชนนี ) พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์เล็ก ทรงมีพระเชษฐาธิราชว่า " พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล " พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ รัชกาลที่ 8 และมีพระพี่นาง พระนามว่า " สมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา "
             พระองค์ได้เสด็จกลับเถลิงถวัลยราชสมบัติต่อจากพระบรมเชษฐาเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ขณะมีพระชันษา 19 ปี ก่อนครองราชย์ได้ทรงศึกษาวิชาวิศวกรรมศาสตร์และได้เสด็จกลับไปศึกษาวิชานิติศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ต่ออีกภายหลังที่ได้ครองราชย์แล้ว
             ทรงสนพระทัยในอักษรศาสตร์ และการดนตรีทรงรอบรู้ภาษาต่างประเทศหลายภาษาและตรัสได้อย่างคล่องแคล่ว จนเป็นที่ประจักษ์แก่คณะทูตานุทูตและประชาชนชาวเมืองนั้นๆ เป็นอย่างดี ต่างพากันชมว่า พระองค์ทรงมีความรู้ทันสมัยที่สุดพระองค์หนึ่ง สําหรับดนตรีนั้นทรงประพันธ์เนื้อร้องและทํานองเพลงแด่คณะวงดนตรีต่างๆ มีเพลงพระราชนิพนธ์ที่คนไทยรู้จักเช่น เพลงสายฝน เพลงประจํามหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ เพลงประจํามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พระองค์เคยเข้าร่วมวงดนตรีกับชาวต่างประเทศมาแล้ว โดยไม่ถือพระองค์
             การศึกษา
             พระองค์ทรงศึกษาภาษาไทยเบื้องต้นที่โรงเรียนมาแตร์เดอีก่อน แล้วจึงเสด็จไปศึกษาต่อที่เมืองโลซานน์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เมื่อสําเร็จการศึกษาเบื้องต้นแล้ว จึงได้เข้าศึกษาต่อแผนวิทยาศาสตร์พร้อมกับพระเชษฐาธิราชซึ่งกําลังศึกษาวิชารัฐประศาสนศาสตร์อยู่ก่อนแล้ว ขณะที่ทรงศึกษาอยู่ทรงประสบอุบัติเหตุรถยนต์ชาวต่างประเทศได้ชนรถพระที่นั่ง เกือบทําให้พระองค์ต้องเสียพระจักษุ แพทย์ต้องถวายการรักษาจนหายเป็นปกติ พร้อมกันนั้นพระองค์ทรงพบสตรีผู้สูงศักดิ์ และได้เป็นคู่บารมีของพระองค์เองในปัจจุบัน
             สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเป็นธิดาองค์ใหญ่ในพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ ( ม.จ. นักขัตมงคล กิติยากร ) และ ม.ล. บัว กิติยากร สมเด็จฯ มีพระนามเดิมว่า ม.ร.ว. สิริกิตติ์ กิติยากร เมื่อพระชันษา 5 ปี เรียนที่โรงเรียนราชินีล่าง ต่อมาย้ายไปเรียนอยู่ที่โรงเรียนเซ็นต์ฟรังซิสซาเวียร์คอนแวนต์สามเสนทรงสนใจดนตรีมาก
             สมเด็จฯ ประสูติ ณ วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2475 รัชกาลที่ 7 ทรงพระกรุณาพระราชทานนามว่า "สิริกิตติ์" เพราะดวงชะตากําหนดศุกร์เดียวกันกับสมเด็จพระนางเจ้า เสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 5 ขณะที่ในหลวงทรงประสบอุปัทวเหตุและมี ม.ร.ว. สิริกิตติ์ ซึ่งพระบิดาเป็นเอกอัครราชทูตประจําอยู่สํานักเซ็นต์เจมส์ ประเทศอังกฤษ แต่ได้มาอยู่สวิสชั่วคราวได้เข้าถวายการพยาบาลด้วย เป็นที่พอพระราชหฤทัยองค์ในหลวงเป็นที่ยิ่ง หลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสําเร็จการศึกษา พระองค์ได้เสด็จนิวัติสู่ประเทศไทย เพื่อทรงประกอบพิธีราชาภิเษก สมรสในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 นับแต่ทรงชาราภิเษกสมรสแล้ว ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดา 4 พระองค์ คือ

1. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตน์ราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี
ประสูติเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2494
 
2. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร
ประสูติ วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2495
 
3. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ประสูติวันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498
 
4. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ฯ
ประสูติวันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2500
             พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงผนวชตามโบราณราชประเพณี เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2499 ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์เป็นพระอุปัชฌาย์เมื่อทรงผนวชแล้วได้ประทับที่ ณ พระตําหนักเพชรวัดบวรนิเวศ
              ก่อนเสด็จออกผนวช พระองค์ได้ทรงมีพระราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ดํารงตําแหน่งเป็นผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์และเนื่องจากสมเด็จพระนางเจ้า เคยดํารงตําแหน่งสุงสุด จึงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้เป็น "สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินาถ"

              พระราชกรณียกิจ

-- พระราชทานกําเนิดมูลนิธิประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูถัมภ์
เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2506
-- ด้านสาธารณสุข จัดตั้งมูลนิธิราชประชาสมาสัยในพระบรมราชูถัมภ์
-- ด้านเกษตร

1. การฟื้นฟูและปรับปรุงพระราชพิธีมงคลจรดพระนังคัล ( แรกนาขวัญ ) และได้มีพระราชดําริจัดทํา " พันธ์ข้าว ทรงปลูกพระราชทาน "
2. งานวิศวกรรมการเกษตร โดยทรงมีพระราขดําริที่นําเอากรรมวิธีทําฝนเทียมมาแก้ไขปัญหาขาดแคลนนํ้า เพื่อการเกษตร และบริโภค ในท้องถิ่นทุรกันดาร
พระองค์ทรงพระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ให้จัดสร้างโรงงานทํานมผงในสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เมื่อพ.ศ. 2512 และได้ให้เจ้าหน้าที่กระทรวงเกาตรสร้างโรงสีขนาดเล็กที่นักวิชาการของกระทรวงเกษตรได้วิจัยประดิษฐ์ขึ้นโดยใช้ระบบแรงเหวี่ยง
3. งานวิจัยค้นคว้าทางเกษตร ใช้ชาวเขารู้จักใช้ประโยชน์จากที่ดิน โดยให้ทดลองปลูกพืชหลายชนิดมีผลไม้ พันธุ์ฟัก และพันธุ์ไม้ดอก

การประมง ได้มีพระราชกระแสรับสั่งให้กรมประมงนําพันธุ์ปลาหมอเทศไปเลี่ยงในบ่อบริเวณสวนจิตรลดาพระราชวังสวนดุสิต ในปีพ.ศ. 2495 และในวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508 เจ้าฟ้าอากิฮิโต มงกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ได้จัดส่งลูกปลานิลมาถวาย เมื่อทรงเลี้ยงพันธุ์ปลานิลประสบผลสําเร็จ โปรดฯ ให้กรมประมงจ่ายลูกปลานิลแก่ราษฎรนําไปเพาะเลี้ยงตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2510

และในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2506 เป็้นวันเฉลิมพระชนมพรรษา รัฐบาลไทยและประชาชนชาวไทยได้ถวายพระเกียรติให้พระองค์เป็น " สมเด็จพระภัทรมหาราช "

     พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๙
 
เป็นรูปพระที่นั่งอัฐทิศ ประกอบด้วยวงจักร
มีอักษร อุ หรือเลข ๙ อยู่กลางวงจักร
รอบ วงจักรมีรัศมีเปล่งออกโดยรอบ
มีรูปเศวตฉัตรเจ็ดชั้น อยู่เหนือจักร ฉัตร
ตั้งอยู่บนพระที่นั่งอัฐทิศ หมายถึง
ทรงมีพระบรมเดชา นุภาพในแผ่นดิน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น